เมนู

[1110] 5. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวา-
จยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ที่เกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ, ภวังค์ เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ, กิริยา
เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ, อนุโลมของพระอรหันต์ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ,
เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา ของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผล-
สมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[1111] 6. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่
อาจยคามิธรรม ฯลฯ

คือ อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย


[1112] 1. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม
ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
เหมือนกับอนันตรปัจจัย (คือ 6 วาระ).

6. สหชาตปัจจัย


ในสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ เหมือนกับสหชาตปัจจัยในปฏิจจวาระ.

7. อัญญมัญญปัจจัย


ในอัญญมัญญปัจจัย

มี 3 วาระ เหมือนกับอัญญมัญญปัจจัยใน
ปฏิจจวาระ.

8. นิสสยปัจจัย


ในนิสสยปัจจัย

เหมือนกับนิสสยปัจจัยในปัจจัยวาระ แม้ทั้ง 4
ปัจจัย ปัจจัยสงเคราะห์ที่ต่างกันไม่มี มี 13 วาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[113] 1. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ.
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอาจยคามิธรรมแล้ว ให้ทาน รักษาศีล
ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ฌาน ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อ
มานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอาจยาคามิธรรม ฯลฯ สุตะ จาคะ ปัญญา
ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนาแล้ว ให้ทานรักษาศีล
ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ฌาน ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ ฯลฯ
ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.